• BKKBangkok (Suvarnabhumi)
  • ICNSeoul (Incheon)
  • PVGShanghai (Pudong)
  • TPETaipei (Taoyuan)
  • KHHKaohsiung
  • HKGHong Kong
  • SINSingapore
  • KIXOsaka (Kansai)
  • CTSSapporo (Shin-Chitose)
  • SDJSendai
  • NRTTokyo (Narita)
  • HNDTokyo (Haneda)
  • NGONagoya (Chubu)
  • FUKFukuoka
  • NGSNagasaki
  • KMIMiyazaki
  • KOJKagoshima
  • ASJAmami
  • OKAOkinawa (Naha)
  • ISGIshigaki
MAP
Pick-up Date
 
เกิดการผิดพลาดในการกรอกข้อมูล
 

คู่มือความปลอดภัยบนเครื่อง

เพื่อความปลอดภัยและสะดวกสบายในการเดินทาง ทางสายการบินขอให้ทุกท่านให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ดังต่อไปนี้



การห้ามสูบบุหรี่ทุกที่ภายในเครื่องบิน

ห้ามสูบบุหรี่ภายในห้องน้ำ ห้องโดยสารที่นั่งและทางเดิน รวมถึงห้ามใช้วัตถุที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เนื่องจากก่อให้เกิดไฟไหม้ได้
การสูบบุหรี่หมายรวมถึงบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ บุหรี่ไร้ควัน และเครื่องมือการสูบบุหรี่แบบอื่นๆ ทุกชนิด

กรณีที่เครื่องตรวจจับควันไฟภายในเครื่องส่งสัญญาณเตือน สายการบินถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินที่ใกล้ที่สุด




ข้อจำกัดในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องบิน อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการบิน จึงได้มีข้อจำกัดในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องบินรวมทั้ง ในช่วงเวลาที่เครื่องบินอยู่บนภาคพื้นดิน การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามที่กระทรวงที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค คมนาคมและการท่องเที่ยวได้ออกประกาศจำกัดการใช้ภายในเครื่องบินนั้น ถูกห้ามไว้ตามกฎหมาย ในกรณีที่พบพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 500,000 เยน
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค คมนาคมและการท่องเที่ยวออกข้อบังคับจำกัดการใช้ มีดังต่อไปนี้


【ข้อบังคับเพิ่มเติม เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.2015】

อุปกรณ์ที่ห้ามใช้ตั้งแต่ “ประตูเครื่องบินปิด” จนกระทั่ง “เครื่องบินลงและหยุดวิ่ง”
* พนักงานบนเครื่องจะเป็นผู้ประกาศอนุญาตการใช้

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ส่งสัญญาณคลื่นเมื่อเปิดใช้ มีดังต่อไปนี้:

โทรศัพท์มือถือ ของเล่นที่ใช้รีโมทไร้สาย อุปกรณ์รับข้อมูลแบบพกพา
ไมโครโฟนไร้สาย อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาไร้สาย
(เช่น เครื่องรับส่ง WiFi)
วิทยุสื่อสาร
คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก เครื่องเล่นเกมส์แบบพกพาที่ใช้ไฟฟ้า

*ในการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีเครื่องรับสัญญาณอยู่ภายในเครื่องบินด้วยกัน การใช้ Bluetooth เชื่อมอุปกรณ์กันภายในเครื่องบิน (ระหว่าง PC กับเมาส์ไร้สาย หรือ เครื่องเล่นเพลงกับหูฟังไร้สาย เป็นต้น ) หรือ การใช้ WiFi ต่อเชื่อมเครื่องเล่นเกมส์ภายในเครื่องบิน สามารถใช้ได้ตลอดเวลาเดินทาง
ทั้งนี้ การใช้เครื่องเราเตอร์ WiFi หรือ การเชื่อมอุปกรณ์กับสัญญาณ LAN สาธารณะ ถือว่าเป็น “การส่งสัญญาณคลื่นกับภายนอกเครื่องบิน” ไม่สามารถใช้ได้

แม้ว่าจะไม่มีการประกาศอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไปนี้ แต่ห้ามใช้งานตามข้อบังคับของเรา

■เครื่องรับสัญญาณสแกนเนอร์ระบบ VHF (แอร์แบนด์) *1

*1 อุปกรณ์นี้มีความคล้ายคลึงมากกับวิทยุสื่อสารที่ถูกกำหนดห้ามใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการเข้าใจผิด ทางสายการบินจึงห้ามการใช้ภายในเครื่องบิน



การใช้โทรศัพท์มือถือภายในเครื่องบิน

[เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1 ก.ย. 2014]

แต่ประตูเครื่องบินปิด จนกระทั่งเครื่องบินลงจอดสนิท กรุณาตั้งค่า "ไฟลท์โหมด" เพื่อไม่ให้โทรศัพท์มือถือส่งสัญญาณ
* พนักงานประจำเครื่องจะเป็นผู้ประกาศให้ทราบ
กรุณางดการคุยโทรศัพท์ภายในเครื่องบิน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้โดยสารอื่น



[สำหรับผู้โดยสารที่มีโทรศัพท์สำหรับเด็ก]

โทรศัพท์มือถือสำหรับเด็กบางรุ่นที่จำหน่ายโดย NTT docomo, au, SoftBank แม้ตัวเครื่องมือถือจะอยู่ในสภาพปิดแล้ว หากมีการตั้งค่า "การเตือนเมื่อเครื่องถูกปิด" ตัวเครื่องจะเปิดอัตโนมัติเป็นระยะและส่งสัญญาณออก ทางสายการบินห้ามการใช้โทรศัพท์มือถือที่ส่ง
สัญญาณคลื่นออกไปภายนอกตามข้อบังคับ ดังนั้น ขอความกรุณาดำเนินการ "ปิดมือถือแบบสนิท" หรือ ปิดการตั้งค่า "การเตือนเมื่อเครื่องถูกปิด" ก่อนขึ้นเครื่อง



การนำวัตถุอันตรายขึ้นเครื่องบิน

กรุณารับทราบว่า ทางสายการบินห้ามนำเอาวัตถุอันตรายที่อาจระเบิด ติดไฟง่าย และวัตถุที่สามารถทำอันตรายต่อคนหรือสิ่งของ ขึ้นมาบนเครื่อง รวมทั้งห้ามนำฝากไปกับสัมภาระใต้ท้องเครื่อง

นอกจากนี้ ห้ามผู้โดยสารนำวัตถุต่อไปนี้ขึ้นเครื่องหรือฝากกับสัมภาระ ตามข้อบังคับของบริษัทสายการบิน เนื้อหาเพิ่มเติม กรุณาดูที่นี่




การจัดเก็บสัมภาระถือขึ้นเครื่อง

โปรดวางสัมภาระในช่องเก็บของเหนือศีรษะหรือวางไว้ใต้ที่นั่งด้านหน้าของคุณ
หากจัดเก็บสัมภาระไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้

*ผู้โดยสารที่นั่งแถวแรกหรือ ที่นั่งบริเวณทางออกฉุกเฉินจะไม่อนุญาตให้วางสัมภาระไว้บริเวณด้านหน้าของท่าน


  • เกิดการบาดเจ็บ

หากถูกกระแทกอย่างกะทันหันอาจทำให้สัมภาระของคุณหลุดออกจากมือ ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อตัวเองหรือต่อผู้โดยสารท่านอื่นได้


  • ขัดขวางการอพยพฉุกเฉิน

หากสัมภาระของคุณกระจัดกระจายไปตามทางเดินหรือใกล้ทางออกฉุกเฉิน สัมภาระเหล่านั้นอาจกีดขวางการอพยพในกรณีฉุกเฉิน

*สำหรับคำขออพยพฉุกเฉิน คลิกที่นี่ (เว็บไซต์ภาษาอังกฤษเท่านั้น)


  • ขัดขวางการนั่งเมื่อเครื่องลงจอดฉุกเฉิน

อาจเป็นอุปสรรคต่อการนั่งเมื่อเครื่องลงจอดฉุกเฉิน




ท่านั่งเมื่อเครื่องลงจอดฉุกเฉิน

ในกรณีฉุกเฉิน ท่านั่งต่อไปนี้ใช้กับการรับแรงกระแทก โปรดตรวจสอบการ์ดคำแนะนำความปลอดภัยบนเครื่องบิน
ท่านั่ง: ลดคางไปที่หน้าอก ก้มตัวไปข้างหน้าและวางศีรษะใกล้กับที่นั่งด้านหน้าของคุณ
แขน: วางแขนไว้ข้างขาท่อนล่างของคุณ


衝撃防止姿勢イラスト




โปรดคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาบนเที่ยวบิน

แม้ว่าสัญญาณรัดเข็มขัดนิรภัยจะดัับแล้วก็ตาม กรุณารัดเข็มขัดนิรภัยอยู่เสมอ และอยู่ในตำแหน่งระดับสะโพก เพื่อความปลอดภัยจากการสั่นสะเทือนเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนกะทันหัน

มีเข็มขัดนิรภัยแบบต่อขยายบนเครื่องบินให้บริการ กรุณาแจ้งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหากคุณต้องการ

* เข็มขัดนิรภัยแบบต่อขยายที่ผู้โดยสารเตรียมมาด้วยตนเองไม่สามารถนำมาใช้ได้




สำหรับผู้โดยสารที่นั่งบริเวณประตูฉุกเฉิน

ผู้โดยสารที่จะสามารถนั่งในที่นั่งบริเวณประตูฉุกเฉินได้ ต้องมีคุณสมบัติทุกข้อตามคู่มือแนะนำของกระทรวงที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค คมนาคมและการท่องเที่ยว (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เดือนเมษายน 2564) ดังต่อไปนี้


  • 1. ผู้โดยสารที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • 2. ผู้โดยสารที่ไม่พาเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • 3. ผู้โดยสารที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลติดตามในการโดยสาร หรือไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพนักงานโดยสาร
  • 4. ในกรณีการหนีภัยฉุกเฉิน ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือผู้โดยสารที่เดินทางมาด้วยกันในการหนีภัย
  • 5. ผู้โดยสารที่สามารถดำเนินการช่วยเหลือการหนีออกจากเครื่องบิน ในกรณีฉุกเฉิน เช่น การเปิดปิดประตูเครื่องบิน เป็นต้น
  • 6. ไม่ได้เป็นผู้ตั้งครรภ์ (มีวันครบกำหนดคลอดภายใน 28 วัน)
  • 7. ผู้โดยสารที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาญี่ปุ่นหรืออังกฤษได้
  • 8. ผู้โดยสารที่สามารถเข้าใจขั้นตอนในการหนีภัยออกจากเครื่องบิน และปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานโดยสาร รวมถึงสามารถบอกเล่าเนื้อหาดังกล่าวให้แก่ผู้โดยสารอื่นได้
  • 9. สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานได้

* เพื่อลดผลกระทบต่อร่างกายในการช่วยเหลือผู้อื่นในกรณีหนีภัยฉุกเฉิน ทางสายการบินแนะนำให้ท่านผู้โดยสารที่ตั้งครรภ์และมีวันครบกำหนดคลอด 29 วันขึ้นไป รวมถึงผู้โดยสารที่ใช้ไม้เท้าค้ำ เลือกใช้ที่นั่งอื่นนอกเหนือจากที่นั่งบริเวณประตูฉุกเฉิน

คุณจะต้องช่วยเหลือลูกเรือของเราในกรณีที่มีการอพยพฉุกเฉิน
ลูกเรือของเราจะให้คำแนะนำในการทำงานต่อไปนี้แก่คุณ

  • ให้ผู้โดยสารท่านอื่นอยู่ห่างจากประตูทางออกฉุกเฉินจนกว่าลูกเรือจะเปิดออกโดยสมบูรณ์แล้ว
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของลูกเรือ เปิดประตูทางออกฉุกเฉินหลังจากยืนยันความปลอดภัยภายนอกเครื่องบิน
  • หลังจากที่สไลต์หนีภัยกางออกเต็มที่แล้ว ให้ผู้โดยสารคนอื่นๆ อพยพโดยเร็วที่สุด
  • ช่วยเหลือผู้โดยสารคนอื่นๆ หลังจากอพยพออกจากเครื่องบิน
  • ช่วยสั่งการให้ผู้โดยสารท่านอื่นออกจากเครื่องบินทันที
  • อื่นๆ (ลูกเรือจะสั่งการอย่างอื่นเมื่อจำเป็น)

โปรดอ่านเอกสารคำแนะนำด้านความปลอดภัยในกระเป๋าที่นั่งโดยเร็วที่สุดหลังจากขึ้นเครื่อง
ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติงานได้หรือไม่ต้องการปฏิบัติตามรายการข้างต้น จะไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งในที่นั่งแถวทางออกฉุกเฉิน กรุณาแจ้งลูกเรือให้เปลี่ยนที่นั่งของท่าน
* ข้อสงสัยเกี่ยวกับประตูฉุกเฉินที่มักจะพบ กรุณาดูเพิ่มเติม ที่นี่



พฤติกรรมในเครื่องที่ก่อความรำคาญแก่ผู้โดยสารอื่น

พฤติกรรมในเครื่องที่ก่อความรำคาญแก่ผู้โดยสารอื่น กฎหมายป้องกัน "พฤติกรรมรบกวนความปลอดภัย" ภายในเครื่องบิน (หรือที่เรียกว่า "พฤติกรรมในเครื่องที่ก่อความรำคาญ") ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 2004 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความปลอดภัยและสะดวกสบายในการเดินทาง
ตามกฎหมายนี้ ได้ห้ามผู้โดยสารกระทำพฤติกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้

・การกระทำที่ก่อกวนความปลอดภัยในการบิน
・การกระทำที่สร้างความเสียหายต่อบุคคลและวัตถุ
・การกระทำที่รบกวนความเรียบร้อยภายในเครื่องบิน
・การกระทำที่ผิดต่อกฎหมายข้อบังคับ

กัปตันประจำเที่ยวบินสามารถออกคำสั่งห้ามกระทำ ต่อบุคคลที่ก่อพฤติกรรมก่อกวนความปลอดภัย ตามด้านล่างนี้
ในกรณีที่บุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง อาจมีโทษปรับไม่เกิน 500,000 เยน (ตามกฎหมายทางอากาศ ข้อที่ 150)

  • 1. การสูบบุหรี่ในห้องน้ำของเครื่องบิน (รวมถึงการใช้อุปกรณ์การสูบบุหรี่ที่มีควัน)
  • 2. การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ถูกห้ามไว้ตามประกาศฯ
  • 3. พฤติกรรมที่รบกวนการรักษาความปลอดภัยและพฤติกรรมที่ก่อกวนการทำงานของพนักงาน ประจำเครื่อง
  • 4. การไม่รัดเข็มขัดนิรภัยในขณะนั่งตามคำสั่ง
  • 5. การไม่ปรับพำนักเก้าอี้หรือเก็บโต๊ะหน้าที่นั่ง เมื่อเครื่องบินขึ้นหรือลง
  • 6. การวางสัมภาระขวางทางออกฉุกเฉิน
  • 7. การเคลื่อนย้ายหรือพยายามใช้เสื้อชูชีพ เครื่องเตือนภัยฉุกเฉิน อุปกรณ์ดับเพลิงที่กำหนดไว้ในประกาศฯ
  • 8. การแตะหรือใช้อุปกรณ์เปิดปิดประตูฉุกเฉินหรือประตูขึ้นลงเครื่อง

โปรดอย่าถ่ายภาพหรือบันทึกผู้โดยสารหรือลูกเรือคนอื่นๆ บนเครื่องบินโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากอาจสร้างความไม่สะดวกให้กับผู้โดยสารรอบข้าง และอาจรบกวนความปลอดภัยและการปฏิบัติงาน


ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง